วันพุธที่ 8 สิงหาคม พ.ศ. 2555


ลักษณะเด่นของภาษาไทย            

ภาษาไทยมีลักษณะเฉพาะที่เป็นของตนเอง แตกต่างจากภาษาอื่น ๆ หลายประการดังนี้

. ภาษาไทยมีตัวอักษรเป็นของตนเอง ตั้งแต่พ่อขุนรามคำแหงมหาราช ทรง-ประดิษฐ์ลายสือไทขึ้นในปี พ.. ๑๘๒๖ อันเป็นต้นกำเนิดอักษรไทย จากนั้นอักษรไทย จึงได้วิวัฒนาการเป็นลำดับมาจนถึงปัจจุบัน ตัวอักษรหรือสัญลักษณ์ที่มีเอกลักษณ์เฉพาะเป็นของตนเองหลายประการดังนี้

     .๑ ตัวอักษรใช้แทนเสียงแท้ เรียกว่า สระ สระในภาษาไทยมี ๒๑ รูป ๓๒ เสียง รูปสระ ๒๑ รูป มีชื่อเรียกดังต่อไปนี้           

                                     เรียก    วิสรรชนีย์                 เรียก    ลากข้าง

                                            พินทุ์อิ           '                 ฝนทอง

                                   หยาดน้ำค้าง              "                 ฟันหนู

                                            ตีนเหยียด                       ตีนคู้

                                             ไม้หน้า                           ไม้โอ

                        ไม้ไต่คู้                          ไม้หันอากาศ

                                                                                        (หรือไม้ผัด)

                                            ตัว ออ                           ตัว วอ

                                            ตัว ยอ                           ไม้มลาย

                                            ไม้ม้วน          

                                            ตัวรึ               ฤๅ               ตัวรือ

                                            ตัวลึ              ฦๅ               ตัวลือ 

เสียงสระ ๓๒ เสียง จำแนกเป็น สระเสียงสั้น (รัสสระ) พวกหนึ่ง และสระเสียงยาว (ทีฆสระ) อีกพวกหนึ่ง ได้แก่

สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
อะ
อิ
อึ
อุ
อา
อี
อื
อู
สระเสียงสั้น (รัสสระ)
สระเสียงยาว (ทีฆสระ)
เอะ
แอะ
โอะ
เอาะ
เออะ
เอียะ
เอือะ
อัวะ
อำ
ไอ
ใอ
เอา
เอ
แอ
โอ
ออ
เออ
เอีย
เอือ
อัว
ฤๅ
ฦๅ

                การที่รูปสระในภาษาไทยมีเพียง ๒๑ รูป แต่มีเสียงมากถึง ๓๒ เสียง ทั้งนี้เนื่องจากมีเสียงสระจำนวนหนึ่งเกิดจากการนำรูปสระ ๒ รูปบ้าง ๓ รูปบ้าง ๔ รูปบ้าง และ ๕ รูปบ้าง มาผสมกันทำให้เกิดเสียงสระใหม่ในภาษาขึ้น ดังตัวอย่าง

                สระแอ เกิดจากนำรูปสระ เ (ไม้หน้า) ผสมกัน ๒ ตัว

                สระแอะ เกิดจากนำรูปสระ เ (ไม้หน้า) ผสมกัน ๒ ตัว และ ะ (วิสรรชนีย์) รวมเป็น ๓ รูป

                สระเอีย เกิดจากนำรูปสระ เ (ไม้หน้า) ผสมกับ ิ (พินทุ์อิ) ผสมกับ ่ (ฝนทอง)และ ย (ตัวยอ) รวมเป็น ๔ รูป

                 สระเอือะ เกิดจากนำรูปสระ เ (ไม้หน้า) ผสมกับ ิ (พินทุ์อิ) ผสมกับ " (ฟันหนู) ผสมกับ อ (ตัวออ) และ ะ (วิสรรชนีย์) รวมเป็น ๕ รูป       

                นอกจากนี้ สระทั้ง ๒๑ รูปยังมีลักษณะการใช้แตกต่างกันสรุปได้ดังนี้

                       ..๑ เป็นรูปสระที่เมื่อประสมกับพยัญชนะแล้วออกเสียงได้โดยไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูป มีจำนวน ๑๑ รูป ดังนี้ ะ า ุ ู เ โ ไ ใ ฤ อ

                       ..๒ เป็นรูปสระที่มีลักษณะพิเศษ กล่าวคือ เป็นสระที่ไม่ต้องเกาะอยู่กับพยัญชนะก็ได้ เรียกว่า สระลอย มี ๔ รูป ได้แก่ ฤ ฤๅ ฦ ฦๅ เช่น ฤดี ฤๅษี ส่วน ฦ ฦๅ เป็นรูปสระที่ใช้แทนเสียง ลึ ลือ ในสมัยโบราณ ปัจจุบันเลิกใช้แล้ว เช่น ฦกซึ้ง ดงฦก เลื่องฦๅ ฦๅชา เป็นต้น หรือประสมกับพยัญชนะก็ได้ เรียกว่า สระจม เช่น พฤกษ์ มฤค เป็นต้น

                       ..๓ เป็นรูปสระที่ปรากฏในพยางค์ แม่ ก กา ต้องมี เคียงเสมอ

ได้แก่ สระ ื เช่น มือ ถือ ซื้อ เป็นต้น

                       ..๔ รูปสระบางตัวเมื่อปรากฏในพยางค์ที่มีตัวสะกดจะเปลี่ยนแปลงรูป ได้แก่

                             (สระอะ) เปลี่ยนเป็น ั เช่น ฉัน กัน วัน เป็นต้น

                            เ ะ (สระเอะ) เปลี่ยน ะ เป็น ็ เช่น เด็ก เล็ก เผ็ด เป็นต้น

                            แ ะ (สระแอะ) เปลี่ยน ะ เป็น ็ เช่น แข็ง เป็นต้น

                        เ าะ (สระเอาะ) เปลี่ยน เ าะ เป็น ็อ เช่น ล็อก เป็นต้น

                            เ อ (สระเออ) เปลี่ยน อ เป็น ิ เช่น เดิน เทิด เลิศ เป็นต้น (ยกเว้นพยางค์ที่สะกดด้วยแม่เกย)

                       ..๕ รูปสระบางตัวจะลดรูป กล่าวคือ ไม่ปรากฏรูปสระบางส่วนหรือทั้งหมดในพยางค์ เช่น รถ รูปสระโอะหายไป กร รูปสระออ หายไป ดวง รูปไม้หัน-อากาศหายไป เป็นต้น

                .๒ ตัวอักษรแทนเสียงแปร เรียกว่า พยัญชนะ พยัญชนะไทยมี ๔๔ รูป ๒๑ เสียง พยัญชนะ ๔๔ รูปดังนี้

                                                                          

                                                                   

                                                                  

                                                                                

                                             ล ว                                  

                                            

                เนื่องจากพยัญชนะทั้ง ๔๔ รูปมีเสียงซ้ำ ๆ กันหลายรูปดังนี้

                             //      ใช้พยัญชนะ    ข ฃ ค ฅ ฆ                        

                             //                      ช ฌ ฉ

                             //                      ซ ศ ษ ส

                             //                       ด ฎ

                             //                       ต ฏ

                             //                      ท ธ ฑ ฒ ถ ฐ

                             //                       น ณ

                             //                      พ ภ ผ

                             //                      ฟ ฝ

                             //                       ย ญ

                             //                       ล ฬ

                             //                       ห ฮ

                ดังนั้น เสียงพยัญชนะในภาษาไทยจึงมีเพียง จำนวน ๒๑ เสียง ด้วยเหตุผล ดังกล่าว

                       .๓ ตัวอักษรแทนเสียงดนตรี เรียกว่า วรรณยุกต์ มี ๔ รูป ๕ เสียง ดังนี้

                                     เรียก    ไม้เอก                    เรียก    ไม้โท

                                            ไม้ตรี                             ไม้จัตวา

                        และเสียงสามัญไม่มีรูปปรากฏ

                       .๔ ตัวเลข เลขไทยเป็นเอกลักษณ์ของชาติที่ควรค่าแก่ความภาคภูมิใจและควรรักษาไว้อย่างยิ่ง คือ ๑ ๒ ๓ ๔ ๕ ๖ ๗ ๘ ๙ ๐

                       .๕ เครื่องหมาย ๆ เรียกว่า ไม้ยมก ตามรูปศัพท์แปลว่า คู่ เป็นเครื่อง-หมายเพื่อใช้แสดงการซ้ำคำ วลี หรือประโยค อัครา บุญทิพย์ (๒๕๓๔ : ๔๐) สันนิษฐานว่า ไม้ยมกน่าจะพัฒนามาจากรูปตัวเลข ๒ ของไทย โดยสังเกตจากหนังสือสมุดข่อย ใบลาน ถ้าต้องการให้อ่านซ้ำจะใช้ ๒ กำกับท้ายคำนั้น ๆ        

                       .๖ เครื่องหมาย ฯ เรียกว่า ไปยาลน้อย เป็นเครื่องหมายที่ใช้ละคำที่รู้จักกันทั่วไปแล้ว โดยเขียนไว้ท้ายคำหลักเช่น กรุงเทพฯ เครื่องหมายไปยาลน้อยใช้รูปเดียวกับเครื่องหมายคั่นเดี่ยว ( ) เครื่องหมายวรรคตอนโบราณของไทย ที่ใช้เมื่อจะจบข้อความประโยคหนึ่ง จบบทประพันธ์บทหนึ่ง จบเนื้อความตอนหนึ่ง และใช้เขียนบอกวันทางจันทรคติ

                       .๗ เครื่องหมาย ฯลฯ เรียกว่า ไปยาลใหญ่ เป็นเครื่องหมายใช้ละ ข้อความที่ยกมากล่าวถึง มีวิธีใช้ ๒ ประการ คือ

                             ..๑ ใช้ละข้อความตอนปลายไม่มีกำหนด ไม่ต้องอ่านข้อความที่ละไว้ ให้อ่าน ละแทน เช่น ผ้าอาจมีลักษณนามเป็นผืน พับ ม้วน ตั้ง ฯลฯอ่านว่า ผ้าอาจมีลักษณนามเป็นผืน พับ ม้วน ตั้ง ละ

                             ..๒ ใช้ละข้อความตอนกลางบอกตอนจบ ไม่ต้องอ่านข้อความตอนกลางที่ละไว้ ให้อ่านว่า ละถึงแทน ตัวอย่าง

                 เนื้อเพลงน้ำตาอีสาน ของชลธี ธารทอง เริ่มต้นจาก ดินแยกแตกระแหง ต้นใบไม้เฉาแห้งแรงไม่มี ฯลฯ แม้นชีพมลาย นอนตายดิ้น ช่วยฝังดินนึกว่าเอาบุญ อ่านว่า เนื้อเพลงน้ำตาอีสาน ของชลธี ธารทอง เริ่มจาก ดินแยกแตกระแหง ต้นใบไม้เฉาแห้งแรงไม่มี ละถึง แม้นชีพมลาย นอนตายดิ้น ช่วยฝังดินนึกว่าเอาบุญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น