ลักษณะเด่นของภาษาไทย(ต่อ)
๒. ภาษาไทยเป็นภาษาคำโดด
หมายถึง เป็นภาษาที่นำเอาคำในภาษาไปใช้ได้โดยลำพัง ไม่มีการเปลี่ยนแปลงรูปคำเพื่อบอกความสัมพันธ์ระหว่างคำในประโยค
แต่ละคำมีอิสระในตัวเอง ความหมายหรือหน้าที่ของคำต้องดูที่ตำแหน่งที่ปรากฏในประโยค
เช่น
พ่อให้แจกันแก่ลูก
ลูกให้แจกันแก่พ่อ
คำในประโยคตัวอย่างทุกคำต่างเป็นคำมูลที่มีอิสระต่อกัน
ไม่สามารถแยกรูปแยกรูปให้เล็กลงโดยรูปที่แยกนั้นมีความหมายได้อีก
ความหมายจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อหน้าที่ของคำในประโยคเปลี่ยนไป
๓. คำในภาษาไทยส่วนใหญ่เป็นคำพยางค์เดียว
หมายถึงคำที่มีส่วนประกอบด้วยหน่วยเสียงอย่างน้อย ๓ หน่วย คือหน่วยเสียงพยัญชนะต้น
หน่วยเสียงสระ และหน่วยเสียงวรรณยุกต์ คำพยางค์เดียวในภาษาไทยสังเกตได้จากหมวดคำพื้นฐานในภาษา
ซึ่งเป็นคำดั้งเดิมในภาษาไทยที่ใช้กันในชีวิตประจำวัน ได้แก่
๓.๑ คำเรียกเครือญาติ เช่น พ่อ แม่ พี่ น้อง ปู่ ย่า
ตา ยาย ลุง ป้า ฯลฯ
๓.๒ คำกริยาทั่วไป เช่น ยืน เดิน กิน ดื่ม นั่ง นอน
ยิง วิ่ง ตี ตาย ฯลฯ
๓.๓ คำใช้เรียกชื่อสัตว์ต่าง ๆ เช่น ม้า วัว หมู แมว
เป็ด ไก่ ช้าง ม้า ฯลฯ
๓.๔ คำใช้เรียกสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ เช่น เสื้อ
ผ้า ชาม จาน ไห ถ้วย โถ มีด ไร่ นา ฯลฯ
อย่างไรก็ตาม
คำหลายพยางค์ก็มีในภาษาไทยด้วยเช่นกัน เช่น หนังสือ อย่างนี้ จิ้งจก บันไดเลื่อน
ดินสอพอง ขะมักเขม่น เป็นต้น
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น