วันพฤหัสบดีที่ 20 กันยายน พ.ศ. 2555

ขอแนะนำบล็อกที่รวบรวมผลงานหนังสือนิทานอีบุ้ค (e-book) หรือหนังสือนิทานอิเล็กทรอนิกส์ ผลงานทั้งหมดจัดทำขึ้นโดยนักศึกษาที่เรียนในรายวิชา นวัตกรรมและเทคโนโลยีสานสนเทศเพื่อการศึกษา สอนโดย อาจารย์อัจฉริยะ วะทา โดยบล็อกนี้มีชื่อว่า atinno.blogspot.com
มีหนังสือนิทานอีบุ้คที่เป็นฝีมือของนักศึกษาในหลายๆ สาขา หลายเรื่องน่าอ่านและสามารถโหลดเก็บไว้หรือนำไปสอนได้ด้วย

นอกจากนี้ก็ยังรวมผลงานการจัดทำบล็อกของนักศึกษาแต่ละสาขาวิชา จัดทำเพื่อเผยแพร่เรื่องราวเกี่ยวกับความรู้ที่น่าสนใจไว้มากมา

อย่าลืมนะคะ เป็นเว็บที่อยากจะแนะนำ เหมาะสำหรับผู้ที่อยากจะทำหนังสือแบบทำมือและทำเป็นอีบุ้ค (e-book) ด้วย อย่าลืมบล็อก atinno.blogspot.com

วันพุธที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2555

นิทานเรื่องกวางน้อยผจญภัย E -book

นิทานเรื่องเจ้ากวางน้อย
นางสาวศศิธร บุญโชติ
คบ. ภาษาไทย หมู่1 ชั้นปีที่ 3
รหัส 533410010135
media
http://www.mediafire.com/?ao8jegz1eah1u5i
facebook
http://www.facebook.com/#!/groups/241439175975415/264683986984267

วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555


คำประสม

                    คำประสม คือ การนำหน่วยคำอิสระ หรือหน่วยคำที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่ ๒ หน่วย ขึ้นไป มาประสมกันแล้วเกิดเป็นคำใหม่ และมีความหมายใหม่ที่มีเค้าหรือนัยของหน่วยคำที่นำมาประสมกัน เช่นหน่วยคำว่า / น้ำ / มีความหมายว่า ของเหลวใสใช้ดื่มประสมกับหน่วยคำ / แข็ง / ซึ่งมีความหมายว่า ไม่อ่อน ไม่นิ่มเป็น น้ำแข็ง มีความหมายว่า น้ำที่ถูกความเย็นจัดจนแข็งตัวเป็นก้อนเป็นต้น

การจำแนกลักษณะของคำประสม

                    การจำแนกคำประสม คำประสมเป็นการสร้างคำใหม่วิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้มีคำใช้ใน

ภาษามากขึ้น คำประสมในภาษาไทยจำแนกออกตามหมวดคำชนิดต่าง ๆ ได้ ๓ ลักษณะคือ

                    ๑. คำประสมที่ใช้เป็นคำนาม เป็นคำประสมที่ใช้เป็นชื่อสื่อของสิ่งต่าง ๆ ที่มี

ความหมายจำกัด เช่น ปากกา เครื่องใน ปูทะเล แม่บ้าน น้ำเน่า เบี้ยล่าง เป็นต้น

                    . คำประสมที่ใช้เป็นคำวิเศษณ์ ใช้ขยายนามหรือกริยา คำประสมชนิดนี้อาจ

ใช้ในความหมายธรรมดา และความหมายเป็นเชิงอุปมา

                             .๑ ใช้ในความหมายธรรมดา เช่น

                                      (ผ้า) กันเปื้อน (กริยา + กริยา)

                                      (สมุด) วาดเขียน (กริยา + กริยา)

                                      (โขน) กลางแปลง (บุรพบท + นาม)

                                      (ย่าง) สามขุม (วิเศษณ์ + นาม)

                                      (ยิง)      เผาขน                                  (กริยา + นาม)

                                      (นั่ง)      คอตก (นาม + กริยา)

                             .๒ ใช้ในความหมายเป็นเชิงอุปมา เช่น

                                      (นักเลง) หัวไม้                                  (นาม + นาม)

                                      (นก) สองหัว (วิเศษณ์ + นาม)

                                      (ยืน)     คอตก (นาม + กริยา)                     

                    . คำประสมที่ใช้เป็นคำกริยา ซึ่งมักมีความหมายไปในเชิงอุปมา เช่น

                                       ยิงปืน   (กริยา + นาม)

                                       ตัดเสื้อ (กริยา + นาม)

                                      อกหัก (นาม + กริยา)

                                      ถือดี (กริยา + วิเศษณ์)

                                      แข็งใจ (วิเศษณ์ + นาม)
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องคำ(ต่อ)
. ลักษณะทางการใช้ การติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษา การใช้คำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ผู้สื่อสารจะต้องสามารถใช้คำได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ จะต้องรู้จักเลือกคำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและตรงความหมายที่ต้องการใช้คำ ผู้ใช้ภาษาควรมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้

                        .๑ ระดับของคำ ภาษาทั่วโลกจะมีระดับของการใช้คำตามลักษณะของสิ่งที่เกี่ยวข้อง ระดับของคำในภาษาแบ่งโดยลักษณะกว้างออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่

                              ..๑ คำระดับภาษาปาก (Colloquils) เป็นระดับคำที่ไม่ได้ มาตรฐาน ใช้ในการสนทนาพูดจาของประชาชนทั่วไป ที่คุ้นเคยสนิทสนม ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ คำระดับภาษาปาก รวมถึงภาษาระดับย่อย ๆ กล่าวคือ คำภาษาตลาด คำภาษาคะนอง (Slang) คำภาษาถิ่น (Dilects) คำหยาบ คำเฉพาะอาชีพ คำหนังสือพิมพ์ (โดยเฉพาะคำที่ใช้พาดหัวข่าว)

                              ..๒ คำระดับกึ่งแบบแผน (Informal) เป็นระดับของคำที่มีลักษณะก้ำกึ่งกันระหว่างภาษาปากกับภาษาแบบแผน ใช้พูดหรือเขียนที่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป นิยมติดต่อสื่อสารกันด้วยถ้อยคำระดับนี้

                              ..๓ คำระดับแบบแผนหรือมาตรฐาน (Formal) เป็นระดับคำที่ใช้พูดหรือเขียนในสถานการณ์อย่างเป็นทางการ มีลักษณะเคร่งครัดตามแบบแผนและเป็นภาษาในระดับที่ยอมรับกันทั่วไปว่าได้มาตรฐาน         

                    ตัวอย่างการใช้คำ ๓ ระดับ       

ภาษาปาก
กึ่งแบบแผน
แบบแผน
หนู ฉัน ข้า ผม กู แดง ฯลฯ
กิน
อยากได้
ตาย
ยังไง
ซังเต
ข้าว
ในหลวง
ฉัน ดิฉัน ผม กระผม
ทาน รับ รับทาน
ต้องการ
เสีย
อย่างไร
คุก
ข้าว
พระเจ้าอยู่หัว
ฯลฯ
ข้าพเจ้า
รับประทาน เสวย
มีความประสงค์
ถึงแก่กรรม
อย่างใด
เรือนจำ
ข้าว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                อนึ่ง การจัดแบ่งระดับคำเป็น ๓ ระดับ เป็นการแบ่งอย่างกว้าง ๆ ในความเป็นจริงไม่อาจแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด คำบางคำอาจใช้ได้ในหลายระดับ บางคำก็ไม่สามารถแยกระดับได้ ผู้ใช้ภาษาจะต้องหมั่นสังเกตและเลือกใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะและสถานการณ์การสื่อสารเอง                

                       .  การใช้คำให้ตรงความหมายและบริบท เช่น แถลง ชี้แจง เปิดเผย ทั้ง ๓ คำ หมายถึง บอกเล่าเรื่องราวให้ทราบ ให้เข้าใจ แต่ใช้บริบทที่แตกต่างกัน ดังนี้

                              แถลง : มักใช้เมื่อมีเหตุการณ์หรือเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นจึงมีการแถลงหรือแจ้งให้ทราบ เช่น โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงข่าวการประชุมคณะ- รัฐมนตรี

                              ชี้แจง : มักใช้เมื่อมีผู้ถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เนื่องจากไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด จึงมีการชี้แจงให้ทราบ เช่น อธิการบดีชี้แจงถึงขั้นตอนการรับนักศึกษาใหม่

                 เปิดเผย : มักใช้ในความหมายว่าพูดให้รู้ถึงสิ่งที่เป็นความลับหรือนำ

ความลับมาเล่าให้ฟัง เช่น คณะกรรมการเปิดเผยข้อสัญญาที่ทำไว้กับต่างประเทศ

                       คำในภาษาไทยบางคำมีความหมายใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกัน แต่ก็ไม่ สามารถนำมาใช้แทนกันได้ ขอให้สังเกตการใช้คำที่ไม่ตรงความหมายในประโยคต่อไปนี้     

                              นกสามารถขยับขยายพันธุ์ได้มากขึ้น

                       คำว่า "ขยับขยาย" หมายความว่า แก้ไขให้คลายความลำบากหรือ คับแคบเพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์ การใช้คำ "ขยับขยาย" ในประโยคข้างต้นไม่ตรงกับความหมายที่ต้องการใช้ ควรใช้คำว่า "ขยาย" ซึ่งหมายความว่า ทำให้มากขึ้นแทน

                              วิทยากรจะสาธิตการทำขนมไทยให้ดูสด ร้อน

                       คำว่า "สด ๆ ร้อน ๆ" หมายความว่า ทันทีทันใด ใหม่ ๆ ไว ๆ ความหมายที่ต้องการจะสื่อ ในประโยคข้างต้น คือ ทำให้ดูขณะนั้นเลย ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า "สด ๆ" แทน                 

                              เขาเป็นคนเก่งจริง ๆ ที่ได้รับรางวัลคราวนี้ก็สาสมแล้ว

                       คำว่า "สาสม" หมายถึง เหมาะควร ใช้สื่อความหมายในด้านลบ เช่น สาสมกับความประพฤติอันเลวร้ายของเขา แต่ประโยคนี้ต้องการสื่อความหมายไปทางด้านบวกหรือยกย่อง จึงควรใช้คำว่า "เหมาะสม หรือ สมควร" แทน           

                       .๓ การใช้คำที่ชัดเจนไม่กำกวม คำกำกวม คือคำที่มีความหมายมากกว่า ๑ ความหมาย เป็นคำที่เมื่อใช้แล้วจะทำให้ความที่พูดหรือเขียนตีความได้หลายแง่ เช่น ประโยคว่า หล่อนเป็นคนใช้ฉันเอง       คำว่า "คนใช้" อาจหมายถึง คนรับใช้ หรือ คนที่ใช้ ก็ได้ การแก้ไขให้ความในประโยคนี้ชัดเจนไม่กำกวม ควรต้องเพิ่มคำบางคำเข้าไป เช่น

                              หล่อนเป็นคนรับใช้ของบ้านฉัน หรือ

                              หล่อนเป็นคนที่ใช้ฉันเอง                 

                       .  การใช้ถ้อยคำอย่างประหยัด การใช้ถ้อยคำในการพูดหรือเขียน สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (๒๕๒๒ : ๑๓) ให้หลักว่า การจะใช้คำแต่ละคำลงไปต้องให้ได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ประการต่อไปนี้ ให้ความรู้เพิ่มขึ้น ให้เกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น และให้เกิดทรรศนะ หรือเกิดความคิดเห็นเพิ่มขึ้น

                       ถ้าคำใดไม่ให้ประโยชน์ใน ๓ ประการนี้เลย พึงตัดออกได้ ปัจจุบันปัญหาการใช้คำอย่างไม่ประหยัดหรือการใช้คำฟุ่มเฟือยเป็นปัญหาที่พบมากตามสื่อต่าง ๆ ลักษณะการใช้คำฟุ่มเฟือยมี ๒ ลักษณะคือ

             ..๑ การใช้คำมากแต่ได้ความเท่าเดิม เช่น คณะทำงานกำลังทำ

การเจรจาอยู่กับผู้นำการประท้วง ประโยคนี้ หากใช้ว่า "กำลังเจรจา" แทน "กำลังทำการเจรจา"

จะได้ความเท่ากัน        

                    หรือประโยคว่า เขาได้รับความพอใจในการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการสาขา

ควรใช้ว่า เขาพอใจที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการสาขา           

                    อนึ่ง คำที่นิยมใช้มากที่สุดและใช้กันอย่างค่อนข้างพร่ำเพรื่อ คือ คำว่า "ทำการ" นำหน้ากริยา แทนที่จะใช้คำกริยานั้น โดด ๆ เช่น ทำการศึกษา ทำการปล้น ทำการประชุม ทำการประท้วง ทำการชี้แจง เป็นต้น คำดังกล่าว หากตัดคำว่า "ทำการ" ออกเสีย ก็จะได้ความหมายเท่าเดิม และได้ประโยคที่กระชับกว่าด้วย                    

                                      ..๒ การใช้คำซ้ำความเดิม กล่าวคือใช้คำเพิ่มเข้ามามาก ทั้ง ๆ ที่มีคำหรือวลีอื่นๆบอกความหมายนั้นอยู่ในตัวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องซ้ำให้มากความออกไป เช่น                                                   เธอพูดเบา ๆ ไม่ดังนักกับสามี                              

                                                 ขวัญยืนเป็นคนเดียวที่รอดมาพร้อมกับชีวิต             

                                                 เขาเป็นคนแก่ที่มีอายุอานามมากแล้ว

                    วลีที่เน้นตัวหนา เป็นการซ้ำกับความที่อยู่ข้างหน้าแล้ว จึงทำให้ข้อความนั้น เยิ่นเย้อโดยไม่จำเป็นจึงควรตัดออกเสีย           

                    ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์ (๒๕๒๖:๙๖) ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้คำฟุ่มเฟือย ไว้ว่า "การใช้คำฟุ่มเฟือยไม่ใช่ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง แต่ผู้รักภาษาก็ควรเอาใจใส่รู้ลักษณะ รู้วิธีแก้ไข และไม่ใช่พร่ำเพรื่อ แต่ไม่ควรถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากจนถึงกับปิดกั้นความคิด ทำให้ไม่กล้าพูด ไม่กล้าเขียน หรือไม่กล้าแสดงออก" 

                             .๕ การใช้คำให้เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล                           

                                      ..๑ การใช้คำให้เหมาะกับกาลเทศะ ได้แก่ รู้ว่าเมื่อใดควรใช้คำหรือประโยคอย่างไร เช่น การให้โอวาท การแสดงปาฐกถา การรายงานทางวิชาการ การเขียนตำราทางวิชาการ ต้องใช้ภาษาระดับทางการ หรือภาษามาตรฐาน ในขณะที่การติดต่อสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการกับผู้ที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคย หรือติดต่อกับผู้สนิทสนมในสถานการณ์กึ่ง ทางการ ก็ควรใช้ถ้อยคำในระดับกึ่งทางการ หรือกึ่งมาตรฐาน

                    ส่วนการติดต่อพูดคุยกับผู้สนิทสนมคุ้นเคย ก็นิยมใช้ถ้อยคำระดับภาษาปาก หรือภาษาไม่เป็นทางการ เช่น ราชภัฏ (สถาบันราชภัฏ) เอกตลาด (วิชาเอกการตลาด) สองโล (สองกิโลกรัม) เป็นต้น                               

                                      ..๒ การใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคล บุคคลหมายถึงผู้พูด ผู้ที่เราพูดด้วย และผู้ที่เรากล่าวถึง เช่น ควรรู้ว่าเมื่อไรเหมาะที่จะใช้สรรพนามแทนผู้พูดว่า ผม กระผม ข้าพเจ้า ฉัน ดิฉัน หรือหนู เป็นต้น   

                    การใช้คำกริยาก็ต้องใช้ให้เหมาะแก่บุคคล เช่น ตาย เสียชีวิต หรือถึงแก่กรรมใช้กับบุคคลธรรมดาสามัญ ถ้าใช้กับพระสงฆ์ ต้องใช้มรณภาพ และถ้าใช้กับเจ้านายระดับ ต่าง ๆ ก็ใช้คำราชาศัพท์ให้เหมาะแก่ศักดิ์ เช่น ทิวงคต พิราลัย สวรรคต เป็นต้น                    

                             .๖ การใช้คำต่างประเทศ ปัจจุบันเรามักเห็นการนำคำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษปะปนในภาษาพูดและเขียนในภาษาไทยอย่างค่อนข้างฟุ่มเฟือย และขาดระเบียบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                                      เบิร์ดเป็นนักร้องนักแสดงซูเปอร์สตาร์ของเมืองไทย (ยอดนิยม)

                                      หน้าตาของหล่อนดูซีเรียสอย่างไรอย่างไรชอบกล (เครียด)

                                      แบงก์เปิดให้บริการตลอดทั้งวัน (ธนาคาร)

                             คำภาษาอังกฤษที่มีผู้นิยมใช้เสมอเช่น

                                      บิ๊กบอส          = ผู้จัดการใหญ่                     (big boss)

                                      คอรัปชั่น         = ทุจริตต่อหน้าที่                   (corruption)

                                      เคลียร์                         = ทำความเข้าใจ                   (clear)

                                      เทคโอเวอร์     = ควบคุมกิจการ                    (take over)

                     ทัวร์         = ท่องเที่ยว                           (tour)

                                      แบน              = ห้าม                                     (ban)

                                      สปิช              = กล่าวสุนทรพจน์                  (speech)

                                                            ฯลฯ.
ความรู้เกี่ยวกับเรื่องคำ(ต่อ)
. ลักษณะทางการใช้ การติดต่อสื่อสารกันด้วยภาษา การใช้คำเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุด ที่ผู้สื่อสารจะต้องสามารถใช้คำได้อย่างมีประสิทธิภาพ กล่าวคือ จะต้องรู้จักเลือกคำมาใช้ได้อย่างเหมาะสมและตรงความหมายที่ต้องการใช้คำ ผู้ใช้ภาษาควรมีความรู้ในเรื่องต่อไปนี้

                        .๑ ระดับของคำ ภาษาทั่วโลกจะมีระดับของการใช้คำตามลักษณะของสิ่งที่เกี่ยวข้อง ระดับของคำในภาษาแบ่งโดยลักษณะกว้างออกเป็น ๓ ระดับ ได้แก่

                              ..๑ คำระดับภาษาปาก (Colloquils) เป็นระดับคำที่ไม่ได้ มาตรฐาน ใช้ในการสนทนาพูดจาของประชาชนทั่วไป ที่คุ้นเคยสนิทสนม ในสถานการณ์ที่ไม่เป็นทางการ คำระดับภาษาปาก รวมถึงภาษาระดับย่อย ๆ กล่าวคือ คำภาษาตลาด คำภาษาคะนอง (Slang) คำภาษาถิ่น (Dilects) คำหยาบ คำเฉพาะอาชีพ คำหนังสือพิมพ์ (โดยเฉพาะคำที่ใช้พาดหัวข่าว)

                              ..๒ คำระดับกึ่งแบบแผน (Informal) เป็นระดับของคำที่มีลักษณะก้ำกึ่งกันระหว่างภาษาปากกับภาษาแบบแผน ใช้พูดหรือเขียนที่ต้องใช้ความระมัดระวังมากขึ้น ในชีวิตประจำวันของประชาชนทั่วไป นิยมติดต่อสื่อสารกันด้วยถ้อยคำระดับนี้

                              ..๓ คำระดับแบบแผนหรือมาตรฐาน (Formal) เป็นระดับคำที่ใช้พูดหรือเขียนในสถานการณ์อย่างเป็นทางการ มีลักษณะเคร่งครัดตามแบบแผนและเป็นภาษาในระดับที่ยอมรับกันทั่วไปว่าได้มาตรฐาน         

                    ตัวอย่างการใช้คำ ๓ ระดับ       

ภาษาปาก
กึ่งแบบแผน
แบบแผน
หนู ฉัน ข้า ผม กู แดง ฯลฯ
กิน
อยากได้
ตาย
ยังไง
ซังเต
ข้าว
ในหลวง
ฉัน ดิฉัน ผม กระผม
ทาน รับ รับทาน
ต้องการ
เสีย
อย่างไร
คุก
ข้าว
พระเจ้าอยู่หัว
ฯลฯ
ข้าพเจ้า
รับประทาน เสวย
มีความประสงค์
ถึงแก่กรรม
อย่างใด
เรือนจำ
ข้าว
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

                อนึ่ง การจัดแบ่งระดับคำเป็น ๓ ระดับ เป็นการแบ่งอย่างกว้าง ๆ ในความเป็นจริงไม่อาจแยกออกจากกันได้โดยเด็ดขาด คำบางคำอาจใช้ได้ในหลายระดับ บางคำก็ไม่สามารถแยกระดับได้ ผู้ใช้ภาษาจะต้องหมั่นสังเกตและเลือกใช้ให้เหมาะกับกาลเทศะและสถานการณ์การสื่อสารเอง                

                       .  การใช้คำให้ตรงความหมายและบริบท เช่น แถลง ชี้แจง เปิดเผย ทั้ง ๓ คำ หมายถึง บอกเล่าเรื่องราวให้ทราบ ให้เข้าใจ แต่ใช้บริบทที่แตกต่างกัน ดังนี้

                              แถลง : มักใช้เมื่อมีเหตุการณ์หรือเรื่องราวอย่างใดอย่างหนึ่งเกิดขึ้นจึงมีการแถลงหรือแจ้งให้ทราบ เช่น โฆษกสำนักนายกรัฐมนตรีแถลงข่าวการประชุมคณะ- รัฐมนตรี

                              ชี้แจง : มักใช้เมื่อมีผู้ถามปัญหาอย่างใดอย่างหนึ่งขึ้นมา เนื่องจากไม่เข้าใจหรือเข้าใจผิด จึงมีการชี้แจงให้ทราบ เช่น อธิการบดีชี้แจงถึงขั้นตอนการรับนักศึกษาใหม่

                 เปิดเผย : มักใช้ในความหมายว่าพูดให้รู้ถึงสิ่งที่เป็นความลับหรือนำ

ความลับมาเล่าให้ฟัง เช่น คณะกรรมการเปิดเผยข้อสัญญาที่ทำไว้กับต่างประเทศ

                       คำในภาษาไทยบางคำมีความหมายใกล้เคียงกันหรือคล้ายคลึงกัน แต่ก็ไม่ สามารถนำมาใช้แทนกันได้ ขอให้สังเกตการใช้คำที่ไม่ตรงความหมายในประโยคต่อไปนี้     

                              นกสามารถขยับขยายพันธุ์ได้มากขึ้น

                       คำว่า "ขยับขยาย" หมายความว่า แก้ไขให้คลายความลำบากหรือ คับแคบเพื่อให้เหมาะแก่ความต้องการหรือเหตุการณ์ การใช้คำ "ขยับขยาย" ในประโยคข้างต้นไม่ตรงกับความหมายที่ต้องการใช้ ควรใช้คำว่า "ขยาย" ซึ่งหมายความว่า ทำให้มากขึ้นแทน

                              วิทยากรจะสาธิตการทำขนมไทยให้ดูสด ร้อน

                       คำว่า "สด ๆ ร้อน ๆ" หมายความว่า ทันทีทันใด ใหม่ ๆ ไว ๆ ความหมายที่ต้องการจะสื่อ ในประโยคข้างต้น คือ ทำให้ดูขณะนั้นเลย ดังนั้นจึงควรใช้คำว่า "สด ๆ" แทน                 

                              เขาเป็นคนเก่งจริง ๆ ที่ได้รับรางวัลคราวนี้ก็สาสมแล้ว

                       คำว่า "สาสม" หมายถึง เหมาะควร ใช้สื่อความหมายในด้านลบ เช่น สาสมกับความประพฤติอันเลวร้ายของเขา แต่ประโยคนี้ต้องการสื่อความหมายไปทางด้านบวกหรือยกย่อง จึงควรใช้คำว่า "เหมาะสม หรือ สมควร" แทน           

                       .๓ การใช้คำที่ชัดเจนไม่กำกวม คำกำกวม คือคำที่มีความหมายมากกว่า ๑ ความหมาย เป็นคำที่เมื่อใช้แล้วจะทำให้ความที่พูดหรือเขียนตีความได้หลายแง่ เช่น ประโยคว่า หล่อนเป็นคนใช้ฉันเอง       คำว่า "คนใช้" อาจหมายถึง คนรับใช้ หรือ คนที่ใช้ ก็ได้ การแก้ไขให้ความในประโยคนี้ชัดเจนไม่กำกวม ควรต้องเพิ่มคำบางคำเข้าไป เช่น

                              หล่อนเป็นคนรับใช้ของบ้านฉัน หรือ

                              หล่อนเป็นคนที่ใช้ฉันเอง                 

                       .  การใช้ถ้อยคำอย่างประหยัด การใช้ถ้อยคำในการพูดหรือเขียน สุธิวงศ์ พงศ์ไพบูลย์ (๒๕๒๒ : ๑๓) ให้หลักว่า การจะใช้คำแต่ละคำลงไปต้องให้ได้ประโยชน์อย่างใดอย่างหนึ่งใน ๓ ประการต่อไปนี้ ให้ความรู้เพิ่มขึ้น ให้เกิดความเข้าใจดียิ่งขึ้น และให้เกิดทรรศนะ หรือเกิดความคิดเห็นเพิ่มขึ้น

                       ถ้าคำใดไม่ให้ประโยชน์ใน ๓ ประการนี้เลย พึงตัดออกได้ ปัจจุบันปัญหาการใช้คำอย่างไม่ประหยัดหรือการใช้คำฟุ่มเฟือยเป็นปัญหาที่พบมากตามสื่อต่าง ๆ ลักษณะการใช้คำฟุ่มเฟือยมี ๒ ลักษณะคือ

             ..๑ การใช้คำมากแต่ได้ความเท่าเดิม เช่น คณะทำงานกำลังทำ

การเจรจาอยู่กับผู้นำการประท้วง ประโยคนี้ หากใช้ว่า "กำลังเจรจา" แทน "กำลังทำการเจรจา"

จะได้ความเท่ากัน        

                    หรือประโยคว่า เขาได้รับความพอใจในการที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการสาขา

ควรใช้ว่า เขาพอใจที่ได้รับแต่งตั้งเป็นผู้จัดการสาขา           

                    อนึ่ง คำที่นิยมใช้มากที่สุดและใช้กันอย่างค่อนข้างพร่ำเพรื่อ คือ คำว่า "ทำการ" นำหน้ากริยา แทนที่จะใช้คำกริยานั้น โดด ๆ เช่น ทำการศึกษา ทำการปล้น ทำการประชุม ทำการประท้วง ทำการชี้แจง เป็นต้น คำดังกล่าว หากตัดคำว่า "ทำการ" ออกเสีย ก็จะได้ความหมายเท่าเดิม และได้ประโยคที่กระชับกว่าด้วย                    

                                      ..๒ การใช้คำซ้ำความเดิม กล่าวคือใช้คำเพิ่มเข้ามามาก ทั้ง ๆ ที่มีคำหรือวลีอื่นๆบอกความหมายนั้นอยู่ในตัวแล้ว จึงไม่จำเป็นต้องซ้ำให้มากความออกไป เช่น                                                   เธอพูดเบา ๆ ไม่ดังนักกับสามี                              

                                                 ขวัญยืนเป็นคนเดียวที่รอดมาพร้อมกับชีวิต             

                                                 เขาเป็นคนแก่ที่มีอายุอานามมากแล้ว

                    วลีที่เน้นตัวหนา เป็นการซ้ำกับความที่อยู่ข้างหน้าแล้ว จึงทำให้ข้อความนั้น เยิ่นเย้อโดยไม่จำเป็นจึงควรตัดออกเสีย           

                    ดุษฎีพร ชำนิโรคศานต์ (๒๕๒๖:๙๖) ให้ข้อสังเกตเกี่ยวกับการใช้คำฟุ่มเฟือย ไว้ว่า "การใช้คำฟุ่มเฟือยไม่ใช่ข้อบกพร่องที่ร้ายแรง แต่ผู้รักภาษาก็ควรเอาใจใส่รู้ลักษณะ รู้วิธีแก้ไข และไม่ใช่พร่ำเพรื่อ แต่ไม่ควรถือเป็นเรื่องที่ต้องระมัดระวังมากจนถึงกับปิดกั้นความคิด ทำให้ไม่กล้าพูด ไม่กล้าเขียน หรือไม่กล้าแสดงออก" 

                             .๕ การใช้คำให้เหมาะกับกาลเทศะและบุคคล                           

                                      ..๑ การใช้คำให้เหมาะกับกาลเทศะ ได้แก่ รู้ว่าเมื่อใดควรใช้คำหรือประโยคอย่างไร เช่น การให้โอวาท การแสดงปาฐกถา การรายงานทางวิชาการ การเขียนตำราทางวิชาการ ต้องใช้ภาษาระดับทางการ หรือภาษามาตรฐาน ในขณะที่การติดต่อสื่อสารอย่างไม่เป็นทางการกับผู้ที่ไม่สนิทสนมคุ้นเคย หรือติดต่อกับผู้สนิทสนมในสถานการณ์กึ่ง ทางการ ก็ควรใช้ถ้อยคำในระดับกึ่งทางการ หรือกึ่งมาตรฐาน

                    ส่วนการติดต่อพูดคุยกับผู้สนิทสนมคุ้นเคย ก็นิยมใช้ถ้อยคำระดับภาษาปาก หรือภาษาไม่เป็นทางการ เช่น ราชภัฏ (สถาบันราชภัฏ) เอกตลาด (วิชาเอกการตลาด) สองโล (สองกิโลกรัม) เป็นต้น                               

                                      ..๒ การใช้คำให้เหมาะสมกับบุคคล บุคคลหมายถึงผู้พูด ผู้ที่เราพูดด้วย และผู้ที่เรากล่าวถึง เช่น ควรรู้ว่าเมื่อไรเหมาะที่จะใช้สรรพนามแทนผู้พูดว่า ผม กระผม ข้าพเจ้า ฉัน ดิฉัน หรือหนู เป็นต้น   

                    การใช้คำกริยาก็ต้องใช้ให้เหมาะแก่บุคคล เช่น ตาย เสียชีวิต หรือถึงแก่กรรมใช้กับบุคคลธรรมดาสามัญ ถ้าใช้กับพระสงฆ์ ต้องใช้มรณภาพ และถ้าใช้กับเจ้านายระดับ ต่าง ๆ ก็ใช้คำราชาศัพท์ให้เหมาะแก่ศักดิ์ เช่น ทิวงคต พิราลัย สวรรคต เป็นต้น                    

                             .๖ การใช้คำต่างประเทศ ปัจจุบันเรามักเห็นการนำคำทับศัพท์ในภาษาอังกฤษปะปนในภาษาพูดและเขียนในภาษาไทยอย่างค่อนข้างฟุ่มเฟือย และขาดระเบียบ ดังตัวอย่างต่อไปนี้

                                      เบิร์ดเป็นนักร้องนักแสดงซูเปอร์สตาร์ของเมืองไทย (ยอดนิยม)

                                      หน้าตาของหล่อนดูซีเรียสอย่างไรอย่างไรชอบกล (เครียด)

                                      แบงก์เปิดให้บริการตลอดทั้งวัน (ธนาคาร)

                             คำภาษาอังกฤษที่มีผู้นิยมใช้เสมอเช่น

                                      บิ๊กบอส          = ผู้จัดการใหญ่                     (big boss)

                                      คอรัปชั่น         = ทุจริตต่อหน้าที่                   (corruption)

                                      เคลียร์                         = ทำความเข้าใจ                   (clear)

                                      เทคโอเวอร์     = ควบคุมกิจการ                    (take over)

                     ทัวร์         = ท่องเที่ยว                           (tour)

                                      แบน              = ห้าม                                     (ban)

                                      สปิช              = กล่าวสุนทรพจน์                  (speech)

                                                            ฯลฯ.