วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555

ลักษณะเด่นของภาษาไทย(ต่อ)
. ภาษาไทยมีระบบเสียงวรรณยุกต์ เสียงวรรณยุกต์ช่วยทำให้ภาษาไทยมีคำไว้ใช้เพิ่มขึ้น เสียงที่เปลี่ยนไปทำให้คำมีความหมายเปลี่ยนแปลงไปด้วย เช่น เสือ เสื่อ เสื้อ การเปลี่ยนแปลงระดับเสียงของคำในลักษณะนี้ทำให้ภาษาไทยมีความไพเราะประดุจเสียงดนตรี คำในภาษาไทยจึงจัดอยู่ในจำพวก ภาษาดนตรี (musical language) หากรู้จักเลือกคำได้เหมาะก็ทำให้ผู้อ่านได้อรรถรส หรือเกิดมโนภาพได้ง่าย เช่น

                              ต้อยตะริดติดตี่เจ้าพี่เอ๋ย                   จะละเลยเร่ร่อนไปนอนไหน

                       แอ้อีอ่อยสร้อยฟ้าสุมาลัย               แม้นเด็ดได้แล้วไม่ร้างให้ห่างเชย

                       ฉุยฉายชื่นรื่นรวยระทวยทอด           จะกล่อมกอดกว่าจะหลับกับเขนย

                       หนาวน้ำค้างพร่างพรมลมรำเพย       ใครจะเชยโฉมน้องประคองนอน

                       เสนาะดังวังเวงเป็นเพลงพลอด                  เสียงฉอดฉอดชดช้อยระห้อยหวน

                       วิเวกแว่วแจ้วในใจรัญจวน               เป็นความชวนประโลมโฉมวัณฬา

                                                 (สุนทรภู่ ๒๕๐๙ : ๕๐๒)

                . ภาษาไทยนิยมคำคล้องจอง อันแสดงอัจฉริยลักษณ์ทางภาษาด้านหนึ่งของ

คนไทย คำคล้องจองอาจแบ่งได้ตามจำนวนคำที่ปรากฏเป็น ๕ ประเภท ดังนี้                

                       .๑ คล้องจอง ๔ คำ เช่น ข้าวยากหมากแพง ข้าวแดงแกงร้อน ว่านอนสอนง่าย เป็นต้น                 

                       .๒ คล้องจอง ๖ คำ เช่น ยุให้รำตำให้รั่ว หวานเป็นลมขมเป็นยา เข้าทางตรอกออกทางประตู เป็นต้น                  

                       .๓ คล้องจอง ๘ คำ เช่น กินอยู่กับปากอยากอยู่กับท้อง บัวไม่ให้ช้ำน้ำไม่ให้ขุ่น คับที่อยู่ได้คับใจอยู่ยาก เป็นต้น              

                       .๔ คล้องจอง ๑๐ คำ เช่น คบคนให้ดูหน้า ซื้อผ้าให้ดูเนื้อ ดูช้างให้ ดูหาง ดูนางให้ดูแม่ น้ำมาปลากินมด น้ำลดมดกินปลา เป็นต้น         

                       .๕ คล้องจอง ๑๒ คำ เช่น

                               ปลูกเรือนตามใจผู้อยู่                     ผูกอู่ตามใจผู้นอน

                               เปิดหม้อไม่มีข้าวสุก                      เปิดสมุกไม่มีข้าวสาร

                               บุญมาวาสนาช่วย                         ที่ป่วยก็หายที่หน่ายก็รัก

                       ฯลฯ

                . คำในภาษาไทยมีเสียงควบกล้ำไม่มากนัก เสียงควบกล้ำที่ปรากฏมาแต่เดิมในระบบเสียงของภาษาไทยได้แก่

                       .๑ เสียง /กร/ เช่น กราน เกรง กร้าน กริ่ง ฯลฯ

                       .๒ เสียง /กล/ เช่น เกลื่อน กลาด เกลียด กลัว กลอก ฯลฯ

                       .๓ เสียง /กว/ เช่น กวาด ไกว แกว่ง แกว่น ฯลฯ

                       .๔ เสียง /ขร/ เช่น ขรัว ขรุ ขระ ฯลฯ

                       .๕ เสียง /ขล/ เช่น ขลุก ขลิก ขลุม ขลุ่ย ฯลฯ

                       .๖ เสียง /ขว/ เช่น แขวน ขวาน ไขว่ ขวับ ฯลฯ

                       .๗ เสียง /คร/ เช่น คราด เคร่ง ครัด เครียด ฯลฯ

                       .๘ เสียง /คล/ เช่น คละ คลุ้ง คล้าย โคลง คล้าม ฯลฯ

                       .๙ เสียง /คว/ เช่น ควาย ความ คว้า ควัก ฯลฯ

                       .๑๐ เสียง /ตร/ เช่น ตรู่ ตราบ ตรอก ตรม ตรอม ฯลฯ

                       .๑๑ เสียง /ปร/ เช่น ปรับ แปร๊ด แประ ปรุง เปรียว ฯลฯ

                       .๑๒ เสียง /ปล/ เช่น เปลี่ยน แปลง ปล้น เปล้า ปลิง ฯลฯ

                       .๑๓ เสียง /พร/ เช่น พราย พร้อม พร่ำ พรั่น พรึง ฯลฯ

                       .๑๔ เสียง /พล/ เช่น พลิก พล่าม พลอย พลั้ง ฯลฯ

                       ส่วนเสียงควบกล้ำที่เกิดขึ้นใหม่ เช่น เสียง /ดร/ /ฟร/ /ฟล/ /บร/ /บล/ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นเสียงที่ได้รับอิทธิพลจากภาษาต่างประเทศ โดยเฉพาะภาษาอังกฤษ เช่นดรัมเมเยอร์ ฟรี ฟลอร์ บรอดเวย์ บลูส์ เป็นต้น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น