วันอังคารที่ 4 กันยายน พ.ศ. 2555


คำประสม

                    คำประสม คือ การนำหน่วยคำอิสระ หรือหน่วยคำที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง ที่มีความหมายต่างกันตั้งแต่ ๒ หน่วย ขึ้นไป มาประสมกันแล้วเกิดเป็นคำใหม่ และมีความหมายใหม่ที่มีเค้าหรือนัยของหน่วยคำที่นำมาประสมกัน เช่นหน่วยคำว่า / น้ำ / มีความหมายว่า ของเหลวใสใช้ดื่มประสมกับหน่วยคำ / แข็ง / ซึ่งมีความหมายว่า ไม่อ่อน ไม่นิ่มเป็น น้ำแข็ง มีความหมายว่า น้ำที่ถูกความเย็นจัดจนแข็งตัวเป็นก้อนเป็นต้น

การจำแนกลักษณะของคำประสม

                    การจำแนกคำประสม คำประสมเป็นการสร้างคำใหม่วิธีหนึ่ง ที่ช่วยให้มีคำใช้ใน

ภาษามากขึ้น คำประสมในภาษาไทยจำแนกออกตามหมวดคำชนิดต่าง ๆ ได้ ๓ ลักษณะคือ

                    ๑. คำประสมที่ใช้เป็นคำนาม เป็นคำประสมที่ใช้เป็นชื่อสื่อของสิ่งต่าง ๆ ที่มี

ความหมายจำกัด เช่น ปากกา เครื่องใน ปูทะเล แม่บ้าน น้ำเน่า เบี้ยล่าง เป็นต้น

                    . คำประสมที่ใช้เป็นคำวิเศษณ์ ใช้ขยายนามหรือกริยา คำประสมชนิดนี้อาจ

ใช้ในความหมายธรรมดา และความหมายเป็นเชิงอุปมา

                             .๑ ใช้ในความหมายธรรมดา เช่น

                                      (ผ้า) กันเปื้อน (กริยา + กริยา)

                                      (สมุด) วาดเขียน (กริยา + กริยา)

                                      (โขน) กลางแปลง (บุรพบท + นาม)

                                      (ย่าง) สามขุม (วิเศษณ์ + นาม)

                                      (ยิง)      เผาขน                                  (กริยา + นาม)

                                      (นั่ง)      คอตก (นาม + กริยา)

                             .๒ ใช้ในความหมายเป็นเชิงอุปมา เช่น

                                      (นักเลง) หัวไม้                                  (นาม + นาม)

                                      (นก) สองหัว (วิเศษณ์ + นาม)

                                      (ยืน)     คอตก (นาม + กริยา)                     

                    . คำประสมที่ใช้เป็นคำกริยา ซึ่งมักมีความหมายไปในเชิงอุปมา เช่น

                                       ยิงปืน   (กริยา + นาม)

                                       ตัดเสื้อ (กริยา + นาม)

                                      อกหัก (นาม + กริยา)

                                      ถือดี (กริยา + วิเศษณ์)

                                      แข็งใจ (วิเศษณ์ + นาม)

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น